หน้าหลัก ข่าวและบทความ รวมกระจกนิรภัย แต่ละชนิดใช้แบบไหน ?
บทความ

รวมกระจกนิรภัย แต่ละชนิดใช้แบบไหน ?

เคยสงสัยกันไหม กระจกนิรภัยที่นำมาใช้ในอาคาร รวมถึงกระจกที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันแต่ละรูปแบบนั้น แตกต่างกันอย่างไร มีจุดเด่นตรงไหน 🤔 และกระจกแต่ละชนิดเหมาะกับงานแบบไหนบ้าง วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูกันแบบให้พอได้เข้าใจกัน 🔍 ✨
.

.
กระจกเทมเปอร์
มีคุณสมบัติในตัวที่แข็งแรงกว่ากระจกธรรมดาถึง 5 เท่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุจนถึงขั้นเสียหายกระจกเทมเปอร์จะแตกออกคล้ายเม็ดข้าวโพดเล็ก ๆ ช่วยป้องกันอันตราย และลดโอกาสเสี่ยงบาดเจ็บได้เป็นอย่างดี โดยมีที่มาของกระบวนการผลิตที่ต้องผ่านการอบความร้อน แล้วทำให้ผิวกระจกเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างแรงอัดที่ผิวกระจกให้แข็งแกร่งขึ้น เมื่อใช้งานจริงจะทนต่ออุณหภูมิความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นฉับพลันได้ไปในตัว โดยกระจกเทมเปอร์ในโรงงานมาตรฐานสากลควรผ่านกระบวนการ Heat Soak ทดสอบความร้อนที่ 290 องศา ทุกครั้งเพื่อดูว่าเนื้อกระจกมีความเครียดจากสารนิกเกิลซัลไฟด์หรือไม่ ช่วยลดความเสี่ยงที่กระจกจะร้าวหรือแตกได้เองเมื่อนำไปใช้งานจริง
[ เหมาะกับงานแบบไหน ] > ฉากกั้นห้อง, ห้องอาบน้ำ, ตู้โชว์สินค้า, ผนังอาคารบางส่วน, ประตูบานเปลือย ฯลฯ
.
กระจกลามิเนต
มีที่มาการผลิตจากการนำกระจกเทมเปอร์ หรือกระจกธรรมดาตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมาลามิเนตเป็นชั้นประกบเข้ากันโดยคั่นกลางด้วยฟิล์ม PVB ทำให้ได้ความแข็งแรง และปลอดภัยมากกว่ากระจกหลายชนิด เมื่อเกิดอุบัติเหตุกระจกแตกจะมีลักษณะคล้ายใยแมงมุมเศษกระจกจะยึดคาระหว่างแผ่น และยังช่วยป้องกันรังสี UV ได้ 99% ใช้ตกแต่งได้ทั้งภายในรวมถึงจุดที่เชื่อมต่อระหว่างภายนอกอาคาร รวมถึงยังสามารถลามิเนตเป็นกระจกสีตกแต่งในรูปแบบต่าง ๆ ได้อีกด้วย
[ เหมาะกับงานแบบไหน ] > บ้านพักอาศัย, บานช่องแสง, โรงแรม, โรงพยาบาล, ราวบันไดกระจก, ระเบียงกระจก ฯลฯ
.
กระจกเทมเปอร์ลามิเนต
เป็นชนิดกระจกนิรภัยที่มีความแข็งแรงในระดับสูง มาจากการนำกระจกเทมเปอร์ 2 แผ่นขึ้นไปมาลามิเนตเข้าด้วยกันให้ความปลอดภัยที่สูงลำดับต้น ๆ เข้ากับงานที่ต้องบาก หรือเจาะเพื่อยึดอุปกรณ์ติดตั้ง (ตัวอย่างเช่น Spider Fitting) ใช้ทำ Facade หรือระบบผนังกระจกได้ สามารถนำคุณสมบัติอื่น ๆ มาใช้ได้เหมือนกับกระจกลามิเนต
[ เหมาะกับงานแบบไหน ] > พื้นทางเดินกระจก (Sky Walk), เพดานกระจก (Sky light), ระบบผนังกระจกอาคารสูง
.
กระจกอินซูเลท-กระจก Low E
คือกระจก 2 แผ่นขึ้นไปที่มีช่องว่างระหว่างกระจก จากการนำวัสดุอลูมิเนียมคั่นกลาง โดยมีสารดูดความชื้นทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน โดยสามารถนำกระจก Low-E ใช้เป็นส่วนประกอบในการอินซูเลททำให้ขึ้นชื่อว่าเป็นกระจกประหยัดพลังงาน มีคุณสมบัติช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ภายในตัวอาคารแบ่งเบาภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมของอาคารในระยะยาว และเหมาะอย่างยิ่งกับสถานที่ที่ต้องการรักษาอุณหภูมิไว้ตลอด
[ เหมาะกับงานแบบไหน ] > อาคารสูง,สนามบิน,ตู้แช่ ห้องเก็บไวน์
.
กระจกฮีทสเตรงเท่น
แข็งแรงกว่ากระจกธรรมดา 2 – 3 เท่า ป้องกันการแตกเองของกระจกจากความร้อนได้ รับแรงอัดของลมได้ดีกว่ากระจกทั่วไป เมื่อเสียหายรอยร้าวจะวิ่งเข้าหาขอบเฟรมโดยจะยึดอยู่บริเวณขอบ ยิ่งเมื่อนำมาลามิเนตควบคู่จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานได้อย่างหลากหลาย
[ เหมาะกับงานแบบไหน ] > โครงสร้างอาคารสูงที่ต้องเจอความร้อนมากกว่าปกติ, Glass Floor (พื้นกระจก)
.
ปรึกษา KSG ผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการด้านงานกระจกนิรภัยมาตรฐานสากล มากว่า 30 ปี พร้อมแปรรูปงานกระจกดัดโค้งให้เข้ากับทุกประเภทงานออกแบบที่คุณต้องการ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

แชร์

แท็ก


คุณน่าจะสนใจ